วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)

ความหมายกลุ่มปัญญานิยม
               ปัญญา นิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
  
ทฤษฏีการเรียนรู้ของ กลุ่ม เกสตัลท์ (Gestalt Theory)
กฎการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ สรุปได้ดังนี้
                1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์
                2. บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
                3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ
                                3.1) การรับรู้ (perception)
                                3.2) การหยั่งเห็น (Insight)
                4. กฎการจัดระเบียบการรับรู้  ของเกสตัลท์มีดังนี้
                                4.1 กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz)
                                4.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
                                4.3 กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity)
                                4.4 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure
                                4.5 กฎแห่งความต่อเนื่อง
                                4.6 บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง
                                4.7 การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาดบิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้
5. การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (Insight) ของโคห์เลอร์

หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามแนวคิดจากกลุ่มเกสตัลท์
การสอนโดยการเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นและเข้าใจก่อนการเสนอส่วนย่อย จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก การจัดระเบียบสิ่งเร้าที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ดีในการสอนครูไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเสนอการสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ครูสามารถเสนอ เนื้อหาแต่เพียงบางส่วนได้ หากผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์มี การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้มากขึ้น

ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
เอ็ดเวิร์ด ซี. ทอลแมน (Edward C. Taolman) กล่าวว่าการเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุด หมายปลายทางทฤษฎีของทอลแมนสรุปได้ดังนี้
1. ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล (reward expectancy) หากรางวัลที่คาดว่าจะได้รับไม่ตรงตามความพอใจและความต้องการ ผู้เรียนจะพยายามแสวงหารางวัลหรือสิ่งที่ต้องการต่อไป
2.  ขณะที่ผู้เรียนจะพยายามไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ (place learning) และสิ่งอื่นๆที่เป็นเครื่องชี้ตามไปด้วย
3. ผู้ เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำๆ ในทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของตน
4. การ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียนไปก่อนจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสมหรือจำเป็นจึงจะ แสดงออก (latent learning)

หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีเครื่องหมาย
การสร้างแรงขับ และ / หรือแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ นั้น ครูควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
การปรับเปลี่ยนสถานการณ์การเรียนรู้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนได้
การเรียนรู้บางอย่างอาจไม่สามารถแสดงออกได้ในทันที การใช้วิธีการทดสอบหลายๆวิธี ทดสอบบ่อยๆ หรือติดตามผลระยะยาว จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในลักษณะนี้  

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติ ปัญญา  (Intellectual Development Theory)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอน การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก
                หลักการจัดการศึกษา / การสอน ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์
                1. ในการพัฒนาเด็ก ควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กและจัดประสบการณ์ให้เด็กอย่างเหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามวัยของตน  เด็กแต่ละคนมี ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการ ของเขา
ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจลักษณะต่างๆ ได้ดี
                2. การให้ความสนใจและสังเกตเด็กอย่างใกล้ชิด
                3. ในการสอนเด็กเล็กๆ เด็กจะรับรู้ส่วนรวม (whole) ได้ดีกว่าส่วนย่อย (part) ดังนั้นครูจึงควรสอนภาพรวมก่อนแล้วจึงแยกสอนที่ละส่วน
                4. ในการสอนสิ่งใดให้กับเด็ก ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์มาก่อน
                5. การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติ ปัญญาของบรุนเนอร์
               บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของบรุนเนอร์มีดังนี้
หลักการจัดการศึกษา / การสอนตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
                กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก สร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น

ทฤษฎีการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)

ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิม ที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure)
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น