ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classic Conditioning Theory)
พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้นๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือสร้างสถานการณ์ ให้เกิดขึ้นซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวัน จะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย
แนวทฤฎษฎี
1. พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจาการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
2. พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3. มีการลดสิ่งเร้าและหยุดลงหากไม่ได้รับการตอบสนอง
การทดลองของพาฟลอฟสรุปได้ว่า
1. ผงเนื้อ เป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus) UCS
2. กระดิ่ง เป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข หรือสิ่งเร้าเทียม (Conditioned Stimulus) CS
3. น้ำลายหลั่งจากผงเนื้อ เป็นการตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข(Unconditioned Response) UCR
4. หลั่งน้ำลายจากเสียงกระดิ่ง การตอบสนองโดยวางเงื่อนไข (Conditioned Response) CR
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดด์ (ลองผิดลองถูก) (Thorndike’s Connectionism Theory)
มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด (Trial and Error) จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด
แนวทฤษฎีกฎ 4 ข้อ
1. ผู้เรียนมีความพร้อม
2. การฝึกหัดอยู่เสมอ
3. มีการนำไปใช้
4. ผลการนำไปใช้สร้างความพึงพอใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นครั้งเดียวก็ได้โดยไม่ต้องทำซ้ำ เมื่อมีสถานการณ์ใหม่ก็สามารถนำรูปแบบการเรียนรู้เดิมมาใช้ได้
แนวคิดทฤษฎี
กฎความต่อเนื่อง สิ่งเร้าเดิมกลับมา พฤติกรรมกลับมาอีกโดยไม่ต้องเชื่อมโยง การเรียนรู้เกิดได้แม่เพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องฝึกอีก กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย เมื่อเกิดการเรียนรู้จะยึดรูปแบบนั้นเลย การจูงใจการเรียนรู้ จะมีแรงจูงใจมากกว่าการเสริมแรง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ วัตสัน
วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาเป็นหลักสำคัญในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้ แนวคิดของวัตสันคือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทำให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งมาคุ่กัน คือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
ความแตกต่างของวัตสันกับพาฟลอฟ คือวัตสันใช้คนในการทดลอง ซึ่งมักมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยวัตสันได้ได้ทดลองกับเด็กชายอัลเบิร์ต (อายุประมาณ 11 เดือน) เพื่อทำให้เด็กชาย อัลเบิร์ตกลัวหนูขาว เมื่อกลัวหนูขาวแล้วก็พบพฤติกรรมการกลัวหรือเลิกการกลัวหนูขาวได้ โดยมีกฎการเรียนรู้ดังนี้
1. กฎการลดภาวะ
2. กฎการฟื้นคืนสภาพเมตามธรรมชาติ
3. กฎการสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป
4. กฎการจำแนกความแตกต่าง
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ ของสกินเนอร์ (B.F. Skinner)
(Operant Conditioning Theory)
(Operant Conditioning Theory)
ความเชื่อแนวคิดทฤษฎีของสกินเนอร์ พฤติกรรมที่ได้รับการตอบสนองจะเกิดขึ้นอีก แต่พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการตอบสนองจะลดลงและหายไป และการเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงตายตัว เมื่อมีการลงดทษทำให้เรียนรู้ไวแต่ลืมง่าย
การทดลองของสกินเนอร์ใช้ การฝึกหนูกดคาน โดยสิ่งที่ใช้ทดลองคือ กล่องสกินเนอร์ มีที่ซ่อนอาหารไม่ให้หนูเห็น และมีกลไกสำหรับควบคุมปล่อยอาหารออกมา แล้วปล่อยหนูเข้าไปในกล่องหนุจะแสดงพฤติกรรมวิ่งไปรอบๆ กล่อง จนไปแตะบนคาน สกินเนอร์จะปล่อยอาหารออกจากที่ซ่อน เมื่อจับหนูเข้าไปอีก หนูก็จะกดคานทันทีแสดงว่าหนูเกิดการเรียนรู้ สรุปผลการทดลองได้ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการเสริมแรง
ลักษณะของทฤษฎีโอเปอแรนท์
1. การตอนสนองเกิดจากอินทร์เป็นผู้กระทำขึ้นเอง (Operant Behavior)
2. การตอบสนองเกิดขึ้นโดยตั้งใจ หรือจงใจ (Voluntary Response)
3. ให้ตัวเสริมแรงหลังจาก ที่มีการตอบสนองขึ้นแล้ว
4. ถือว่ารางวัลหรือตัวเสริมแรงมีความจำเป็นมากต่อการวางเงื่อนไข ซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งความพอใจ (Law of Effect)
5. ผู้เรียนต้องทำอะไรอย่างหนึ่งอย่างใด จึงจะได้รับการเสริมแรง
6. เป็นการเรียนรู้ ที่เกี่ยวกับการตอบสนองของกระบวนการทางสมองที่สูงกว่า อันมีระบบประสาทกลางเข้าไปเกี่ยวข้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull ’s Systematic Behavior Theory)
มีความเชื่อคือ กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง
ลักษณะของทฤษฎี เป็นกฎแห่งการจัดลำดับกลุ่มนิสัยเมื่อสิ่งเร้ามากระตุ้น เกิดการตอบสนองต่างกันระยะแรกๆ ตอบสนองง่ายๆ ต่อไปเลือกตอบสนองที่ยากขึ้น และกำแห่งการใกล้บรรลุเป้าหมาย การเสริมแรงเมื่อใกล้เวลาบรรลุเป้าหมายจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ฮัลล์ (Clark L. Hull) ทำการทดลองโดยฝึกให้หนูกดคาน โดยแบ่งหนูออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มอดอาหาร 24 ชั่วโมง และแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน 5 ครั้ง จึงได้อาหาร ไปจนถึงกลุ่มที่กด 90 ครั้ง จึงได้อาหาร และอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกันแต่อดอาหาร 3 ชั่วโมง ปรากฏว่ายิ่งอดอาหารมาก คือ มีแรงขับมาก จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสิต คือ จะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส (Receptor) กับอวัยวะแสดงออก (Effector) เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมาก จึงมีพฤติกดคานเร็วขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น